วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สมบัติของดาวศุกร์

ดาวศุกร์ (อังกฤษ: Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด
สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง"
ชาวบาบิโลนโบราณ รู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่เชื่อว่าด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์ น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้วนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ

ลักษณะเฉพาะของวงโคจร จุดเริ่มยุค J2000 ระยะจุด
ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด
: 108,941,849 กม.
0.72823128
หน่วยดาราศาสตร์ ระยะจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
: 107,476,002 กม.
0.71843270 หน่วยดาราศาสตร์
กึ่งแกนเอก: 108,208,926 กม.
0.72333199 หน่วยดาราศาสตร์
เส้นรอบวง
ของวงโคจร: 0.680
เทระเมตร
(4.545 หน่วยดาราศาสตร์)
ความเยื้องศูนย์กลาง: 0.00677323 คาบดาราคติ: 224.70096 วัน
(0.6151977
ปีจูเลียน) คาบซินอดิก: 583.92 วัน อัตราเร็วเฉลี่ย
ในวงโคจร
: 35.020 กม./วินาที อัตราเร็วสูงสุด
ในวงโคจร: 35.259 กม./วินาที อัตราเร็วต่ำสุด
ในวงโคจร: 34.784 กม./วินาที
ความเอียง: 3.39471°
(3.86° กับศูนย์สูตร
ดวงอาทิตย์) ลองจิจูด
ของจุดโหนดขึ้น
: 76.68069° ระยะมุมจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
: 54.85229° ดาวบริวารของ: ดวงอาทิตย์ จำนวนดาวบริวาร: ไม่มี ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนว
ศูนย์สูตร: 12,103.7 กม.
(0.949×
โลก) พื้นที่ผิว: 4.60×108 กม.²
(0.147×โลก)
ปริมาตร: 9.28×1011 กม.³
(0.857×โลก)
มวล: 4.8685×1024 กก.
(0.815×โลก)
ความหนาแน่นเฉลี่ย: 5.204 กรัม/ซม.³ ความโน้มถ่วง
ที่ศูนย์สูตร: 8.87
เมตร/วินาที²
(0.904
จี) ความเร็วหลุดพ้น: 10.36 กม./วินาที คาบการหมุน
รอบตัวเอง
: 243.0185 วัน ความเร็วการหมุน
รอบตัวเอง: 6.52 กม./ชม.
ความเอียงของแกน: 2.64° ไรต์แอสเซนชัน
ของขั้วเหนือ: 272.76°
(18 ชม. 11 นาที 2 วินาที)
เดคลิเนชัน
ของขั้วเหนือ: 67.16°
อัตราส่วนสะท้อน: 0.65 อุณหภูมิพื้นผิว:
   เคลวิน
ต่ำสุด
เฉลี่ย
สูงสุด
228* K (ยอดเมฆ)
737 K
773 K

ลักษณะเฉพาะของบรรยากาศ ความดันบรรยากาศ
ที่พื้นผิว: 9,321.9 กิโล
ปาสกาล องค์ประกอบ: ~96.5% คาร์บอนไดออกไซด์
~3.5%
ไนโตรเจน
0.015%
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
0.007%
ไอน้ำ
0.002%
คาร์บอนมอนอกไซด์
0.0017%
อาร์กอน
0.0012%
ฮีเลียม
0.0007%
นีออน
คาร์บอนิลซัลไฟด์ ปริมาณน้อยมากไฮโดรเจนคลอไรด์ ปริมาณน้อยมากไฮโดรเจนฟลูออไรด์ ปริมาณน้อยมา
เหตุผลที่ดาวศุกร์ไม่มีบริวาร
             เนื่องจากดาวเคราะห์ทั้งสองดวงนี้อยู่ใกล้ดวง อาทิตย์มากเกินไป ทำให้ระดับวงโคจรเสถียรของดาวบริวารแคบมาก หากอยู่ห่างจากดาวเคราะห์แม่มากเกินไปก็จะถูกดวงอาทิตย์คว้าจับไป หากอยู่ใกล้ดาวเคราะห์มากเกินไปก็จะถูกแรงน้ำขึ้นน้ำลงฉีกเป็นชิ้น ๆ ดาวเคราะห์สองดวงนี้อาจเคยมีบริวารในอดีตแต่ไม่อาจคงสภาพอยู่ได้ด้วยเหตุผล ดังกล่าว

ยานอวกาศมารีเนอร์ 2 ขององค์การ NASA เป็นยานอวกาศลำแรกที่ไปถึงและส่งข้อมูลกลับมาจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ข้อมูลจากยานลำนี้เผยให้เห็นถึงอุณหภูมิที่สูงมากบนพื้นผิวดาวศุกร์
   ยานอวกาศมารีเนอร์ 2
  (Credit: NASA/JPL)

                                                                     ค.ศ. 1970

ยาน อวกาศเวเนรา 7 ของอดีตสหภาพโซเวียตได้ลงจอดบนพื้นผิวดาวศุกร์ นับเป็นยานอวกาศลำแรกที่ได้ลงจอดบนดาวเคราะห์ดวงอื่นได้สำเร็จ ยานอวกาศลำนี้ส่งข้อมูลมายังโลกเป็นระยะเวลา 23 นาทีก่อนขาดการติดต่อ
 
            ยานอวกาศเวเนรา 7

ค.ศ. 1990 - 1994

ยาน อวกาศแมกเจลแลนขององค์การ NASA ถูกส่งไปโคจรรอบดาวศุกร์ ได้มีการใช้เรดาร์ทำแผนที่ดาวศุกร์ครอบคลุมถึง 98% ของพื้นผิวดาวศุกร์ทั้งหมด

ค.ศ. 2005

องค์การอวกาศยุโรป (ESA) ส่งยานอวกาศ Venus Express ไปโคจรรอบดาวศุกร์ เพื่อศึกษาบรรยากาศ และสภาพเกี่ยวกับพลาสมาของดาวศุกร์
 
ยานอวกาศ Venus Express
(ที่มาของรูป: NASA)

2 ความคิดเห็น: